วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การลงโปรแกรมoppp2554

การลงโปรแกรมoppp2554

ขั้นตอนที่ 1 เปิด mysql query browser ขึ้นมา
start >>>programs>>>mysql-jhcis>>>mysql query browser จากนั้นไปที่เมนูfile เลือก open script
ก็ให้เลือกไปหาที่ที่คุณเก็บไฟล์oppp 2554.sqlไว้ แล้วก็open fileนี้ขึ้นมา เสร็จแล้วก็กดที่ปุ๋มสายฟ้าสีเขียวexcute
รอจนกว่ามันจะสร้างตารางครบ100% เสร็จแล้วก็ออกจาก mysql query browser ไป

ขั้นตอนที่ 2 ไปที่file setup.exe คลิ๊ก next install next nextไปตามที่มันบอกนะครับ ไปจนกว่าfinish
ขั้นตอนที่คลิ๊กที่ shortcut oppp2554 มันจะมีกล่องข้อความฟ้องว่า error ให้ไปเปลี่ยนที่ port เป็น3333และเปลี่ยนpassword เป็น123456 จากนั้นก็คลิ๊กที่ปุ่มทดสอบ (แล้วจะบอกว่าไม่เชื่อมต่อได้) แล้วก็คลิ๊กที่บันทึก มันก็จะปิดโปรแกรมออกมา

ขั้นตอนสุดท้าย เปิดโปรแกรม Oppp2554 ตั้งค่าหน่วยบริการ พิมพ์รหัสสอ.ใส่เข้าไป xxxxx จากนั้นก็คลิ๊กที่ค้นหา แล้วกดบันทึกเป็นอันจบการลงโปรแกรม oppp2554

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553


เรียนรู้แบบ SALT

ปลายเดือนตุลาที่ผ่านมาพวกเราชาวสาธารณสุขอำเภอเมืองลำปาง ได้มีโอกาสมาเรียนรู้การสร้างภาคีเครือข่ายของชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้รูปแบบของ SALT ในการเรียนรู้ ก่อนการเรียนรู้อาจารย์ถามว่า SALT คืออะไร หมอจำรัสตอบว่า SALT คือ เกลือครับ เค็มแต่ดี หมอชัชชัยตอบว่า SALT คือ ซ้อเล็ก ซ้อใหญ่ครับ หมอหนุ่ยตอบว่า SALT คือ ชื่อของภาพยนต์ฝรั่งชื่อไทยว่า "สวยสังหาร" ที่นำแสดงโดย แองเจลีนา โจลี่ ครับ ทุกคนต่างตอบใกล้เคียงกับความเป็นจริงของตัวเองมาก หัวใจสำคัญของ SALT คือ การมองแต่สิ่งที่ดี มองในมุมบวก อย่ามองถึงปัญหา ให้มองปัญหาเป็นโอกาส ด้วยการชื่นชม ถ่ายทอด และสนับสนุน

S= Suport
A= Appreciete
L= Lift
T=Transfer/Tream
แปลเองนะครับ

วันแรกเรามาศึกษาเรียนรู้ที่บ้านแม่ทา ถ้าบอกว่าบ้านแม่ทา ทุกคนต้องเข้าใจว่าอยู่ในอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน แต่บ้านแม่ทาที่พูดถึงอยู่ในอำเภอแม่ออน ที่ได้แยกมาจากอำเภอสันกำแพงจังหวัดเชียงใหม่ สำหรับการเดินทางผ่านทางลำพูนจะสะดวกกว่า เข้าทางกัซซัน รีสอร์ทดังแถวนั้น ถ้าเดินทางจากอำเภอสันกำแพงเชียงใหม่ ระยะทางใกล้แต่ทางคดเคี้ยว ขึ้นเขา ลงเขา ใช้เวลาในการเดินทางมากกว่า จากสภาพทางภูมิศาสตร์ ล้อมรอบด้วยภูเขาสูงชันเป็นแนวกั้นระหว่างจังหวัดลำปาง ลำพูน และกั้นระหว่างอำเภอสันกำแพงและอำเภอแม่ทา ทำให้บ้านแม่ทาอยู่เขตรอยต่อระหว่างลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ เดินทางไม่ถึง 3 กม.ก็ถึงอำเภอแม่ทา เดินทาง 90 กม.ถึงอำเภอสันกำแพงทั้งๆที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเดียวกัน ประชาชนต้องมาใช้บริการแทบทุกอย่างที่จังหวัดลำพูน รวมถึงการเจ็บป่วยต้องมารับการรักษาที่ รพ.แม่ทา ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการใช้สิทธิข้ามจังหวัด ประชาชนที่นี่จึงรู้สึกถูกทอดทิ้งจากหน่วยงานของทางราชการในจังหวัด เป็นชนชายขอบที่ทุกฝ่ายมองไม่เห็น ประชาชนที่นี่จึงได้ผลักดัน สถานีอนามัยในตำบลให้มีศักยภาพในการให้บริการแก่ประชาชนมากขึ้น องค์กร NGO เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างแนวความคิดให้กับประชาชนให้เกิดความเข้มแข็ง ด้วยการส่งเสริมให้ประชาชนได้เกิดการเรียนรู้ คิดเป็น ทำเป็น

จากสภาพภูมิศาสตร์ที่ล้อมรอบด้วยป่าเขาแต่ไม่สามารถนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เนื่องจาก ทางรัฐได้มีการสัมประทานป่าไม้ ทำให้ส่งผลต่อแหล่งน้ำที่ประชาชนเคยมีใช้ตลอดปีกลับไม่เพียงพอในการทำการเกษตร หลังจากหมดสัญญาในการสัมประทานป่าไม้ชาวบ้านจึงได้รวมตัวกัน ร่วมอนุรักษ์ป่าไม้ ทำให้มีน้ำใช้อย่างอย่างเพียงพอ ด้วยระบบประปาภูเขา สามารถทำการเกษตรได้ตลอดปี เนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจชาวบ้านต้องเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นด้วยการใช้สารเคมี ทั้งปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง ส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำ สัตว์น้ำเริ่มตาย คนเจ็บป่วยจากการใช้สารเคมีมากขึ้น จนทำให้ให้ชาวบ้านมองเห็นถึงปัญหา และผลกระทบที่ตามมา จึงได้มีการรวมตัวกันหันมาใช้วิธีการแบบเกษตรอินทรีย์ หันมาใช้ปุ๋ยจากมูลสัตว์ จากซากพืช ซากสัตว์ ปลุกพืชแบบผสมผสาน ให้มีความหลากหลาย ปลุกพืชตามฤดูกาล ไม่ทำลายแมลงหรือสัตว์ที่ทำลายแมลงศัตรูพืช ล้มลุกคลุกคลานมาหลายปี ท้อแต่ไม่ยอมถอย ได้ศึกษาดูงานจากที่ต่างๆทั่วประเทศ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับพื้นที่ของตนเอง จนพืชผลเจริญงอกงามมีพ่อค้าจากต่างประทศมารับซื้อผลผลิตจนไม่เพียงพอกับความต้องการ โดยใช้เทคนิคง่ายๆคือการลดต้นทุนในการผลิตด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้เกิดแนวคิดหลักในเรื่องความปลอดภัยในการบริโภค ด้วยการเป็นผู้ผลิตอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ไม่มีสารปนเปื้อน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

จากการเรียนรู้แบบลองผิด ลองถูก ได้สั่งสมประสบการณ์การเรียนรู้ก่อให้เกิดแนวความคิดแบบองค์รวม และรู้ว่าวิถีชีวิตส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร ทำให้เกิดสถาบันพัฒนาทรัพยากรและเกษตรแบบยั่งยืน สถาบันแห่งนี้เป็นศูนย์รวมของชุมชน เกิดจากแนวคิดของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง โดยมีสหกรณ์เป็นกลไกสำคัญที่มีเงินหมุนเวียนกว่า 10 ล้านบาท มาช่วยเหลือสมาชิกในชุมชน เปิดโอกาสให้ลูกหลานกลับเข้ามาทำงานในหมู่บ้าน ทำให้ครอบครัวมีความอบอุ่น ผู้สูงอายุได้รับการเลี้ยงดูจากลูกหลาน โดยมีเยาวชนรุ่นแรกที่เข้ามาพัฒนาบ้านเกิดรุ่นแรกๆ หนึ่งในนั้นก็คือนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคนปัจจุบัน ที่ได้ทุ่มเทพลังกายและพลังใจ ร่วมพัฒนา จนเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน ด้วยการใช้ชีวิตแบบพอเพียง สมถะ ถ้าดูการแต่งกายก็ไม่รู้ว่าเป็นนากยก

กล่าวถึงสถาบันพัฒนาทรัพยากรและเกษตรยั่งยืน ถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนภาคีเครือข่ายในชุมชน โดยภาคส่วนต่างๆมาร่วมเป็นคณะกรรมการทั้งภาครัฐและภาคประชาชน ตำแหน่งต่างๆในชุมชนเช่น นากยก อบต.ต้องผ่านการพิจารณาจากสถาบันก่อนที่จะส่งสมัครเพื่อรับการเลือกตั้ง เมื่อผ่านความเห็นชอบจากสถาบันแล้วมักได้รับการเลือกตั้งทุกครั้ง เช่นเดียวกับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ผู้นำสูงสุดของสถาบัน มีตำแหน่งเรียกว่าผู้อำนายการสถาบันฯ โดยวันนี้มีรองผู้อำนวยการสถาบัน และท่านนากยก อบต.มาถ่ายทอดสิ่งที่พวกเราอยากมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยนายกกล่าวว่า สถาบันฯเปรียบเทียบกับถ้วยกาแฟ และช้อน ที่มีหน้าที่คนกลุ่มต่างๆภาคีต่างๆในชุมชน ที่เปรียบเสมือนกาแฟ น้ำตาล และคอฟฟี่เมต ให้กลมกล่อม กิจกรรมหรือโครงการต่างๆในชุมชนไม่ว่าใครจะเป็นเจ้าภาพหลัก สถาบันต้องร่วมรับผิดชอบทุกกิจกรรม เป็นตัวขับเคลื่อนให้กิจกรรมทุกอย่างบรรลุผลสำเร็จด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ "สุขภาวะ" ด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน

สถานีวิทยุชุมชนเป็นสื่อสำคัญในการกระจายข่าวสารให้แก่ประชาชนในพื้นที่ เกิดขึ้นจากการระดมทุนจากชาวบ้าน นักจัดรายการวิทยุทั้งหมดมาจากทุกภาคส่วนในตำบลที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียน มาถ่ายทอดข่าวสาร สาระที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน โดยไม่มีค่าตอบแทนใดๆ โดยชาวบ้านไม่รู้สึกหงุดหงิดหรือรำคาญเหมือนเสียงตามสาย ทุกคนยินดีรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้วยความเต็มใจ ทั่วถึง ไม่ว่าจะสอบถามกับใคร ชาวบ้านก็จะได้รับทราบข้อมูลตรงกัน

หมอศุภเดชได้สอบถามกับท่านรองผู้อำนวยการสถาบันฯว่า "ท่านมีวิธีการใดในการกำจัดหอยเชอร๊่ที่ระบาดในนาข้าวในเขตรับผิดชอบของตนเอง" ท่านรองผู้อำนวยการสถาบันกล่าวว่า " เราอย่ามองว่าหอยเชอรี่เป็นศัตรู อะไรก็ตามที่เรามองว่าเป็นศัตรูเราจะพยายามฆ่า พยามยามกำจัดทำลาย ให้เรามองว่าเราจะหาประโยชน์จากหอยเชอรี่อย่างไร โดยถ้าเราคิดดีๆหอยเชอรี่มีประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะนำมาต้มยำก็อร่อย นำมาหมักเป็นปุ๋ย บำรุงพืช บำรุงดินได้อย่างดีเยี่ยม ที่นี่รับซื้อไม่อั้น " จะเห็นได้ว่าคนที่นี่มีหลักแนวคิด มีปรัชญาในการดำรงชีวิต แนวคิดดีๆส่งผลให้เกิดการกระทำที่ดีๆตามมา โดยมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นเวทีในการถ่ายทอดทุกอย่างทั้งแนวคิด อุดมการณ์ ถึงแม้ความคิดจะแตกแยก แต่เมื่อผ่านเวที่ ให้เปิดอก เปิดใจ ความคิดที่แตกแยกดังกล่าวกลายเป็นความแตกฉาน เกิดความรู้ใหม่ๆ เป็นนวัตกรรมหลายๆอย่างในชุมชน ส่งผลให้ที่นี่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนจากรุ่นสู่รุ่น ที่ผมไม่สามารถจะบรรยายหรือพรรณราเป็นถ้อยคำหรือคำพูดได้ แต่เป็นความรู้สึกที่รับรู้ด้วยใจ เล่าสามวันสามคืนไม่จบ สุดยอดมากครับ เสียดายผมไม่ได้นำกล้องไปด้วยเลยไม่ได้นำภาพมาฝาก